“ภาวะอกหัก” กับพฤติกรรมและความคิดของผู้คนที่โศกเศร้า
“ภาวะอกหัก” กับพฤติกรรมและความคิดของผู้คนที่โศกเศร้า ความรักเป็นรสชาติอันหอมหวานสามารถพิสูจน์ได้จากประสบการณ์ของทุกคนที่เคยได้พูดคุยและใช้เวลาร่วมกับใครสักคนที่เข้าใจตนเอง ถึงอย่างนั้นความรักก็เหมือนกับอารมณ์อื่นในชีวิตที่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือหมดลงได้สักวันหนึ่งหากพวกเราไม่ละเลยสัญญาณเตือนเล็กน้อยๆ จนเมื่อฝ่ายหนึ่งตัดสินใจว่าจะไม่อดทนกับความทุกข์นี้อีกต่อไป “การบอกเลิก” จึงเป็นทางออกสุดท้ายที่คนรักต้องการทำเมื่อปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้จนเกิดอาการอกหัก(brokenhearted)ที่แฝงความรู้สึกเศร้า โกรธ เกลียด และโหยหาภายในเวลาเดียวกัน ดังนั้นผู้เขียนจึงมาบอกเล่าลำดับการพัฒนาของภาวะอกหักกัน ค้นหาคำตอบ เมื่อใครสักคนถูกบอกเลิกพวกเขาย่อมเกิดคำถามภายในจิตใจว่า “ฉันพลาดตรงไหนไปหรือ?” บ่อยครั้งที่ความสงสัยกลายเป็นโซ่ตรวนสำหรับบางคนที่ไม่ปล่อยวางจึงพยายามถามเรื่องราวของคนรักผ่านกลุ่มคนรอบตัวอีกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือครอบครัวเกี่ยวกับความคิดในช่วงเวลาก่อนที่จะมาบอกเลิกตน แต่ขณะเดียวกันพวกเขาลืมนึกว่าคำถามเหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตอบที่ของเลิกกับตนไปแล้ว อย่างไรก็ตามวันหนึ่งพวกเขาจะเข้าใจจนเลิกตั้งคำถามแต่ก็ยังยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เท่าไรนักจึงพยายามหลีกเลี่ยงโดยปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเยียวยาบาดแผลอันเจ็บปวดนี้ได้ ความโศกเศร้า ระหว่างช่วงเวลาที่คนอกหักพยายามหลีกเลี่ยงเรื่องราวที่ชวนให้ตนเองคิดถึงคนรักเก่าจนกว่าตนเองจะเยียวยาแผลใจได้พวกเขามักเกิดความรู้สึกโศกเศร้าและตั้งคำถามหาสาเหตุความคิดพลาดของความสัมพันธ์ ซึ่งทำให้พวกเขาเริ่มสูญเสียความเป็นตนเองรวมถึงกระบวนการยับยั้งชั่งใจอีกด้วย จากประสบการณ์ของผู้อ่านคงพอทราบกันดีว่าย่อมมีคนบางส่วนพยายามเข้าหาคนรักเก่าด้วยวิธีการและเหตุผลมากมายที่บ่งชี้ว่าพวกเขาควรกลับมาคืนดีกันรวมถึงความคิดว่า “ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก” ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมหันต์และอาจบานปลายไปถึงการคุกคามอีกฝ่ายด้วย แต่การบอกเลิกคือตัวเลือกสุดท้ายที่คนรักต้องการทำเมื่อความสัมพันธ์ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้นพวกเขาจึงมักปฏิเสธการขอคืนดีจากคนรักเก่าประกอบด้วยเหตุผลที่ไม่ต้องการเสี่ยงกับการอ่านหนังสือเล่มเดิมที่รู้แล้วว่าตอนจบจะเป็นอย่างไร การไม่กลับมาย่อมเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายเพราะเมื่อผ่านช่วงเวลาโหยหาจะเข้าสู่ “ช่วงรับความจริง” หมายถึง การเติบโตทางความคิดและปล่อยวางจากคนรักเก่าจนพวกเขาไม่รู้สึกขมขื่นพร้อมหากิจกรรมที่ช่วยทำให้หัวใจกลับมามีความสุขอีกครั้งและเมื่อพร้อมพวกเขาจะเริ่มมีความรักใหม่ต่อไป เครดิตภาพ : unsplash.com #ภาวะอกหัก #เรื่องความรัก #ชีวิตคู่
กฎความสัมพันธ์ 60-40
กฎความสัมพันธ์ 60-40 กฎความสัมพันธ์ 60-40 ในเรื่องของความรักความสัมพันธ์ อะไรที่มันเยอะเกินไปจนล้นหรือน้อยเกินไปจนขาด แน่นอนว่าต้องไม่เป็นผลดีกับความรักความสัมพันธ์ของทั้งสองคน ถ้าคุณอยากประคองความรักของคุณให้มั่นคงและไปกันต่อได้รอด เราลองมาปรับใช้กฎความสัมพันธ์แบบ 60-40 กันดู กฎความสัมพันธ์ 60-40 คืออะไร? กฎนี้ก็คือการรักษาความสัมพันธ์ในความรักให้มั่นคงและยั่งยืนฉบับของความเป็นจริง เวลาที่เราจะมอบความรักให้ใครเราควรให้ประมาณ 60% ก็เพียงพอแล้ว และหากคุณจะคาดหวังก็ควรคาดหวังว่าจะได้คืนเพียง 40% ก็พอ เพราะการที่เราให้เวลากับความรักความสัมพันธ์เพียงแค่ 60% มันเป็นสิ่งที่สามารถเป็นไปได้ในโลกความเป็นจริง เมื่อตอนที่เราคาดหวังว่าจะความรักกลับคืนมา ก็ควรหวังเพียงแค่ 40% เพราะเมื่อความคาดหวังจากคนที่ไม่ได้มีมากนัก ก็จะทำให้ชีวิตคู่ของทั้งสองคนนั้นมีเวลาว่างให้กับตัวเอง และใช้เวลาของตัวเองได้ ซึ่งมันสามารถรักษาความสัมพันธ์ได้อย่างยั่งยืน ถ้าเป็นแบบ 50-50 ละ? คนที่กำลังคุยๆ กันอยู่หรือกำลังรักกันอยู่นั้น ทั้งคู่ก็คงจะรู้สึกว่าต้องรักษาสัญญาระหว่างกัน และคุณก็อาจจะเคยได้ยินว่า ต่างฝ่ายควรจะต้องให้ความรักและความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ก็อาจจะทำให้ความรักไม่ยั่งยืนก็เป็นได้ เพราะเมื่อทั้งคู่รู้อยู่แล้วว่าการให้ความรักจะต้องเท่าเทียมกัน อีกฝ่ายก็จะมีท่าทีรอดูพฤติกรรมของอีกฝ่ายว่าจะให้ความสำคัญกับตนเองเท่าไหร่ และก็จะให้กลับคืนไปเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นชีวิตคู่มีอะไรให้ทำมากกว่าจะมาต้องนั่งคิดและนั่งแบ่งความสำคัญ เพราะในบางเรื่องอาจจะต้องมีคนที่เสียสละมากกว่าและให้ความสำคัญมากกว่า และถ้าคุณยังคิดถึงแต่เรื่องของความเท่าเทียมก็อาจจะเป็นความรักที่ไม่สามารถประคับประคองได้รอดก็เป็นได้ ข้อดีและข้อเสียของกฎ 60-40 ความสัมพันธ์ที่ใช้กฎนี้เป็นพื้นฐานในความรัก […]